sanookschool ติดต่อสอบถาม 086-218-5488 E-mail : mungmat@hotmail.com
LEVEL 5 : ระดับมัธยมปลาย  

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต : ศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึมหรือเท้าเทียม

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่โดยอาศัยเท้าเทียม (pseudopodium) ได้แก่

อะมีบา:: เคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของไซโทรพลาสซึม หรือเท้าเทียม (Pseudopodium(ชูโดโพเดียม)โดยการที่ไซโทรพลาสซึม
จะไหลได้นั้นเกิดขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. เอ็กโทพลาสซึม (Ectoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมที่อยู่ข้างนอก มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว
เรียกว่า เจล (gel)
2. เอ็นโดพลาสซึม (Endoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมทีอยู่ด้านในมีลักษณะค่อนข้างเหลว
เรียกว่า โซล (sol)
3. ไมโครฟิลาเมนท์
การเกิดเท้าเทียม เกิดจาก การแยกตัวและรวมตัวของโปรตีนแอกติน ในไมโครฟิลาเมนท์ มีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงของไซโทรพลาซึม ดังนี้

ทำให้เอนโดพลาสซึมไหลไปในทิศทางที่อะมีบาจะเคลื่อนที่แล้วปรับสภาพเป็นเอ็กโทพลาสซึม
ส่วนเอ็กโทรพลาสซึมที่อยู่ด้านท้ายจะกลายเป็น เอนโดพลาซึม เป็นของเหลวไหลมาแทนที่
เอนโดพลาสซึมที่เคลื่อนไปแล้ว

www.nana-bio.com

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การเคลื่อนที่ของพารามีเซียม

พารามีเซียม (Paramecium) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำพวกโปรโตซัว ซึ่งมักเกิดในบริเวณที่ม
ีการเน่าของอินทรีย์วัตถุ ไม่ว่าจะเป็นทรากพืช เช่น ใบไม้ หญ้า ทรากสัตว์ หรือเศษอาหาร ปกติ
จะใช้เป็นตัวแทนของสัตว์เซลเดียวกลุ่มที่มีขน (cilia) ในเรื่องโครงสร้างของเซลล์ การกินอาหาร
การแบ่งเซลล์ และการแพร่พันธุ์แบบใช้เพศ ปัจจุบันพบว่าลูกปลาวัยอ่อนสามารถกิน
พารามีเซียมเป็นอาหารได้ และสามารถดำเนินการเพาะเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนมากมายได้อย่างง่ายๆ
ทำให้พารามีเซียมกลาย เป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน
โดยเฉพาะในธุรกิจการเลี้ยงปลาสวยงาม เพราะทำให้ลูกปลาวัยอ่อนที่มีขนาดเล็กเจริญเติบโต
รวดเร็ว และมีอัตราการรอดสูง มีความสำคัญสำหรับผู้เพาะเลี้ยงปลากัด ปลาปอมปาดัวร์
ปลาเทวดา ปลาม้าลาย และปลาซิวชนิดต่างๆ อย่างมาก ที่สำคัญคือผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม
ทั่วไปสามารถเตรียมเชื้อพารามีเซียม และดำเนินการเพาะเลี้ยงได้อย่างง่ายๆ

 

http://home.kku.ac.th/pracha/Paramecium.htm

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

แฟลเจลลัมและซีเลีย

ซีเลีย (cilia หรือ cilium ในรูปเอกพจน์) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์จำพวกยูแคริโอต (eukaryotic cell) ซิเลียมีลักษณะบาง
ส่วนพัดโบกที่มีลักษณะคล้ายครีบหรือหางจะยื่นออกมาประมาณ 5-10 ไมโครเมตร นับจากผิวเปลือกของเซลล์ออกมา ซิเลียมี
สองประเภทได้แก่ซิเลียที่เคลื่อนไหว (motile cilia) ซึ่งจะพัดโบกไปในทิศหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือซิเลียที่
ไม่เคลื่อนไหว (non-motile cilia) ซึ่งทำหน้าที่เป็นออร์แกเนลล์ประสาทให้กับเซลล์ ซิเลียมีลักษณะทางโครงสร้างคล้ายๆ
กับแฟลเจลลัมซึ่งจัดอยู่ในประเภทอุนดูลิโพเดียม (undilopodium) แต่ซิเลียจะต่างกับแฟลเจลลัมตรงที่ มีจำนวนส่วนที่ยื่น
ออกมาเยอะกว่าแฟลเจลลัมที่มีส่วนที่ยื่นออกมาเพียง 1-2 อันเท่านั้น รวมถึงยังมีขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่าแฟลเจลลัมอีกด้วย
ซิเลียทำหน้าที่ พัดโบกฝุ่นละออง และเมือก
โครงสร้างของซิเลียนั้น ประกอบด้วยไมโครทิวบูลเรียงตัวกันเป็นวง ซึ่งด้านนอกของวงจะประกอบด้วยไมโครทิวบูลทั้งหมด 9 ชุด
แต่ละชุดจะมีไมโครทิวบูล 2 อัน ส่วนตรงกลางของซิเลียนั้นจะมีไมโครทิวบูลอยู่ 2 อัน แทนสัญลักษณ์ของไมโครทิวบูลในซิเลีย
ด้วยตัวเลขเป็น 9+2 โดยไมโครทิวบูลแต่ละอันนั้น จะเชื่อมกันด้วยแขนโปรตีนไดนีน (Dynien arm) และเมื่อไมโครทิวบูล
เกิดการเลื่อนหรือสไลด์ ก็จะทำให้ซิเลียสามารถโค้งงอได้

 

แฟลเจลลัม (อังกฤษ: flagellum, พหูพจน์: flagella) เป็นเส้นใยขนาดยาว ที่ยืดยาวออกมาจากเซลล์ มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายแส้
ช่วยให้เซลล์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ประกอบด้วยการจัดตัวของไมโครทูบูลเป็น 9+2 เช่นเดียวกับซิเลีย แต่มีจำนวนเส้นต่อเซลล์น้อยกว่า
บริเวณโคนของแฟลเจลลัมจะยึดกับโครงสร้างภายในเซลล์ที่รียกว่า เบซัลบอดี (basal body) หรือ ไคนีโทโซม (kinetosome)ซึ่งมี
การจัดเรียงตัวของไมโครทูบูลเป็น 9+0 ถ้าตัดเบซัลบอดีออก แฟลกเจลลานั้นจะเสียความสามารถในการทำให้เซลล์เคลื่อนที่
แฟลเจลลัมของเซลล์จำพวกยูคาริโอตนั้น จะโบกพัดไปมาคล้ายตัว S และถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์

 

http://th.wikipedia.org

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

โครงสร้างแฟลเจลลัมและซีเลีย

โครงสร้างภายในแฟลเจลลัมและซิเลียจะค้ำจุนด้วยหลอดโปรตีนไมโครทิวบลู(microtubules) โดยไมโครทิวบูลมีการจัดเรียงตัว
เป็นวง 9 กลุ่ม ๆละ 2 หลอด และตรงแกนกลางอีก 2 หลอด การจัดเรียงตัวของไมโครทิวบูลลักษณะเช่นนี้เรียกว่า 9+2
ไมโครทิวบูลถูกล้อมรอบด้วยเยื่อบาง ๆ ซึ่งเป็นเยื่อที่ติดต่อกับเยื่อหุ้มเซลล์ แฟลเจลลัมหรือซิเลียสามารถพัดโบกหรือโค้งงอได้
เนื่องจากการทำงานของโปรตีนไดนีน (dynein)ที่อยู่ระหว่างไมโครทิวบูลที่เรียงเป็นวงโดยทำหน้าที่เป็นเหมือนแขนที่เกาะกับ
ไมโครทิวบูลจึงเรียกว่า ไดนีนอาร์ม (dynein arm) การพัดโบกหรือการโค้งงอของแฟลเจลลัมหรือซิเลียทำให้เกิดการเคลื่อนที่
ของเซลล์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานของแฟลเจลลัมหรือซิเลียถูกควบคุมโดยเบซัลบอดี (basal body) หรือไคนีโทโซม (kinetosome) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่ในเยื่อหุ้มบริเวณโคนของแฟลเจลลัมหรือซิเลีย ภายในเบซัลบอดีมีการจัดเรียงตัวของ
ไมโครทิวบูลในลักษณะ 9+0  กล่าวคือ ไมโครทิวบูลเรียงตัวเป็น 9 กลุ่ม ๆ ละ 3 หลอด แต่ไม่มีไมโครทิวบูลอยู่ตรงกลาง
ได้มีการทดลองตัดเอาเบซัลบอดีออก พบว่า  แฟลเจลลัม หรือซิเลียไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

http://www.wangchan.ac.th/teacher_issue/t712/unit12.html.html

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ไส้เดือน

ไส้เดือนดิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ไส้เดือน (อังกฤษ: Earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา
ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การเคลื่อนที่ของไส้เดือน

ไส้เดือนดินเคลื่อนที่โดยจะใช้เดือยส่วนท้ายจิกดินไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนท้ายเคลื่อนที่ ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อวงจะหดตัว
กล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว ปล้องของลำตัวจะยืดยาวออก ทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าจากนั้นเดือยที่ปล้องส่วนหน้าจะจิกดินไว้
กล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ทำให้ปล้องโป่งออกดึงส่วนท้ายของลำตัวให้เคลื่อนไปข้างหน้า การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวโดยการหดและคลายตัวต่อเนื่องกันเป็นระลอกคลื่นทางด้านหน้ามา
ส่วนท้ายของลำตัว ทำให้ไส้เดือนดินสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้

http://www.wangchan.ac.th/teacher_issue/t712/unit27.html

 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การเคลื่อนที่ของแมลง(ตั๊กแตน)

แมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแต่แมลงมีโครงร่างภายนอก (exoskeleton) ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรง
เกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัว เป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket)
ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบ บานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor)
และเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ทำหน้าที่ในการงอขา
และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism) เหมือนกับคน

แมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเบา แต่มีปีกขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว แมลงมีระบบกล้ามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ
1. ระบบกล้ามเนื้อที่ติดต่อกับโคนปีกโดยตรง
มีกล้ามเนื้อคู่หนึ่งเกาะอยู่ที่โคนปีกด้านในและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หด ตัวจะทำให้ปีกยกขึ้น และกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งเกาะอยู่กับ
โคนปีกด้านนอกและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้ หดตัวจะทำให้ปีกลดตัวต่ำลง การทำงานของกล้ามเนื้อมัดนี้เป็นแบบแอนทาโกนิซึม
(antagonism) ทำให้ปีกของแมลงยกขึ้นและกดลง จึงทำให้เกิดการบินขึ้นได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น แมลงปอ
ผีเสื้อ
2. ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง
ระบบ กล้ามเนื้อที่ไม่ติดกับปีกโดยตรง แต่ติดต่อกับผนังส่วนอก กล้ามเนื้อคู่หนึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามขวาง โดยเกาะอยู่กับผนังด้านบน
ของส่วนอกกับผนังด้านล่างของส่วนอก เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกแคบเข้าและลดต่ำลงเกิดการยกปีกขึ้น ส่วนกล้ามเนื้อ
อีกคู่หนึ่งจะเป็นกล้ามเนื้อตามยาวไปตามลำตัวเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัว ทำให้ช่วงอกยกสูงขึ้นทำให้กดปีกลงด้านล่าง การทำงานของ
กล้ามเนื้อทั้งสองคู่นี้จะทำงานประสานกันเป็นแบบ แอนทาโกนิซึม (antagonism) จึงทำให้ปีกขยับขึ้นลงและบินไปได้ ได้แก่ แมลง

 

http://newjume.blogspot.com/2012/10/blog-post_8433.html

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต


วิทยาศาสตร์
20/7/2555

แบบทดสอบ
 

รับทำสื่อการเรียนการสอน ,E-learning ,CAI
รับทำแอนิเมชั่นการ์ตูน รับออกแบบสติ้กเกอร์ไลน์‬ รับทำสื่อการเรียนการสอน ‬ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
และรับทำเว็บไซต์ ปรับปรุงเว็บเดิมให้ทันสมัย ออกแบบเว็บเก่าให้รองรับการแสดงผลบนมือถือสมาร์ทโฟน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สนใจร่วมงานกับเรา


โทร. 086 218 5488
Line : mungmat-line

hotmail : mungmat@hotmail.com
Gmail : mungmat@gmail.com